08
ม.ค.
08
ม.ค.
28
ธ.ค.
27
ธ.ค.
27
ธ.ค.
25
ธ.ค.
22
ธ.ค.
19
ธ.ค.
04
ธ.ค.
29
พ.ย.
กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
การประชุมผู้ปกครอง ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
กิจกรรมวันนี้เป็นการประชุมผู้ปกครองและให้ผู้ปกครองมารับเงินค่าอุปกรณ์การเรียนที่รัฐบาลอุดหนุดให้
และยังเป็นการแนะนำตัวบุคลากรใหม่ ทีมผู้บริหารใหม่ ผลงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา ทั้งผลงานของนักเรียน
บุคลากร ผลงานที่อยู่ระหว่างแข่งขัน ทั้งทางด้านวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ กฎระเบียบปฏิบัติ การจราจร วินัยของบุคลากร
และผู้ปกครองในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในพื้นที่ของโรงเรียน
ขอบคุณผู้ปกครองทุกท่านที่ให้ความร่วมมือร่วมใจกันครับ
26
พ.ย.
กิจกรรมวันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
ประวัติ
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
- ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
- จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
- จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
- จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
- ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
- จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
- จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
- จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
- ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
- ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิธีหนึ่งโดยใช้น้ำที่ไหลไปเป็นพาหนะนำกระทง
ดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะพระองค์ท่านโดยจินตนาการประก อบกับเป็นช่วงฤดูน้ำหลากพระจันทร์
เต็มดวงในคืนวันเพ็ญเป็นบรรยากาศที่ทำให้คนในสมัยก่อนซึ่งยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เกิดความสุขสงบเป็นพิเศษจึงได้จัดพิธีบูชาพระพุทธคุณ ด้วยกระทงดอกไม้ธูปเทียนพร้อมกับงานรื่นเริงอื่น ๆ
2.เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้ออกไปจากตัวกับสายน้ำที่ไหลไปนั้นพร้อม
กับตั้งจิตอธิษฐานขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตนและครอบครัวได้รับแต่สิ่งที่ดี
3.เชื่อว่าเป็นการขอขมาต่อน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองซึ่งมีคุณอย่างอเนกอนันต์ต่อคนสมัยก่อน ทั้งเรื่องใช้อาบชะล้างสิ่งต่างๆประจำวันรวมทั้งการเ พาะปลูกการคมนาคมถือว่าเป็นการกระทำล่วง
เกินให้น้ำสกปรกจึงได้ทำพิธีขอขมาอย่างเป็นพิธีการอย่างน้อยปีละครั้ง