19
ธ.ค.
19
ธ.ค.
04
ธ.ค.
29
พ.ย.
กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
การประชุมผู้ปกครอง ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
กิจกรรมวันนี้เป็นการประชุมผู้ปกครองและให้ผู้ปกครองมารับเงินค่าอุปกรณ์การเรียนที่รัฐบาลอุดหนุดให้
และยังเป็นการแนะนำตัวบุคลากรใหม่ ทีมผู้บริหารใหม่ ผลงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา ทั้งผลงานของนักเรียน
บุคลากร ผลงานที่อยู่ระหว่างแข่งขัน ทั้งทางด้านวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ กฎระเบียบปฏิบัติ การจราจร วินัยของบุคลากร
และผู้ปกครองในการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในพื้นที่ของโรงเรียน
ขอบคุณผู้ปกครองทุกท่านที่ให้ความร่วมมือร่วมใจกันครับ
26
พ.ย.
กิจกรรมวันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
ประวัติ
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
- ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
- จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
- จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
- จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
- ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
- จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
- จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
- จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
- ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
- ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิธีหนึ่งโดยใช้น้ำที่ไหลไปเป็นพาหนะนำกระทง
ดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะพระองค์ท่านโดยจินตนาการประก อบกับเป็นช่วงฤดูน้ำหลากพระจันทร์
เต็มดวงในคืนวันเพ็ญเป็นบรรยากาศที่ทำให้คนในสมัยก่อนซึ่งยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เกิดความสุขสงบเป็นพิเศษจึงได้จัดพิธีบูชาพระพุทธคุณ ด้วยกระทงดอกไม้ธูปเทียนพร้อมกับงานรื่นเริงอื่น ๆ
2.เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้ออกไปจากตัวกับสายน้ำที่ไหลไปนั้นพร้อม
กับตั้งจิตอธิษฐานขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตนและครอบครัวได้รับแต่สิ่งที่ดี
3.เชื่อว่าเป็นการขอขมาต่อน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองซึ่งมีคุณอย่างอเนกอนันต์ต่อคนสมัยก่อน ทั้งเรื่องใช้อาบชะล้างสิ่งต่างๆประจำวันรวมทั้งการเ พาะปลูกการคมนาคมถือว่าเป็นการกระทำล่วง
เกินให้น้ำสกปรกจึงได้ทำพิธีขอขมาอย่างเป็นพิธีการอย่างน้อยปีละครั้ง
10
พ.ย.
กิจกรรมเข้าค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม นักเรียนชั้น ป. 5 – 6
กิจกรรมเข้าค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าอบรมได้ความรู้ พัฒนาจิตใจ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม ตามหลักพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางการประพฤติตนที่ดี ให้มีทักษะการดำเนินชีวิต เก่ง ดี มีสุข
15
ต.ค.
การประชุมเชิงปฏิบัติการบททวนหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษา ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้มีความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคมและโลกอย่างมีความสุขตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ และเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางให้สถานศึกษานำไปจัดทำสาระให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นและของผู้เรียนหลังจากที่ได้มีการนำหลักสูตรไปใช้ระยะหนึ่งแล้วจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทำงานอย่างต่อเนื่องและต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาจะกระทำทุกครั้งเมื่อสังคมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์ขึ้นมาใหม่ และพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นไปพัฒนาตนและสังคมให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย(วัดหวายกรอง) ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อดำเนินการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่ใช้อยู่เดิมให้มีความเหมาะสมสอดคลองกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของท้องถิ่น ประเทศและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย(วัดหวายกรอง) เป็นหลักสูตรที่ดีมีคุณภาพ ครูสามารถนำไปใช้ได้จริง และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๕๗
29
ก.ย.
กิจกรรมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ @ pattaya
“กิจกรรมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพิ่มทักษะ พัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน สำหรับครู บุคลากร และการวางแผนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”
29
ก.ย.
งานทำบุญโรงเรียนครบรอบ 90 ปี ที่เปิดทำการเรียนการสอน
ประวัติโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย(วัดหวายกรอง)
โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย(วัดหวายกรอง) เดิมชื่อว่า “โรงเรียนวัดหวายกรอง” (เกตุราษฎร์รังสรรค์) โดยในขณะนั้นมี
– อามาตย์ตรีขุนอุทัยธาดา เป็นนายอำเภอ
– ราชบุรุษชื่น เป็นธรรมการอำเภอ
– ท่านพ่อเกตุ เป็นเจ้าอาวาสวัดหวายกรอง
โรงเรียนวัดหวายกรองเปิดทำการสอนวันแรกในวันที่ 24 กันยายน 2468 มีนักเรียน 20 คน ใช้ศาลาการเปรียญวัดหวายกรอง เป็นสถานที่เล่าเรียน มีนายปิ่น ศิริโชติ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก
ในปี พ.ศ. 2479 นายทิม ช่างสุวรรณ เป็นครูใหญ่ นายเชี่ยว โสภณ เป็นธรรมการอำเภอ ท่านพ่อเกตุ เจ้าอาวาส ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น 1 หลัง เป็นแบบ ค. ใต้ถุนสูง มี 3 ห้องเรียน หน้ามุข โดยสร้างเสร็จ พ.ศ. 2481 ค่าก่อสร้าง 1,500 บาท เป็นงบทางราชการ 600 บาท และเงินบริจาคจากชาวบ้านอีก 900 บาท เปิดทำการสอนที่อาคารเรียนหลังใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2481 ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลบางบุตร 1” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนวัดหวายกรอง (เกตุราษฎร์รังสรรค์)” โรงเรียนได้มีการพัฒนาก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมหลายครั้งและพื้นที่โดยรอบ จนเมื่อปี พ.ศ. 2513 นายอุบ ฉายกระจ่างและนายถนอม พัทธเสมา ได้บริจาคที่ดินประมาณ 10 ไร่เศษ มอบให้โรงเรียนเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน และใช้ที่ดินธรณีสงฆ์เพิ่มเติม รวมทั้งหมด 20 ไร่ 17 ตารางวา ต่อมานายติ๋ง – นางกริบ วงค์ลิขิต ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 7 ไร่ และนายวาย – นางพิมพ์ วงศ์เสนาะ บริจาคเพิ่มเติมอีก 5 ไร่ 2 งาน
โรงเรียนวัดหวายกรองได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ปกครองที่อยู่ภายในตำบลบางบุตรและตำบลใกล้เคียงของอำเภอบ้านค่ายและอำเภออื่นๆ ในช่วงที่พระครูสถิต ธรรมโกศล (หลวงพ่อสร้อย)
อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนด้วยบารมีของท่านหลวงพ่อสร้อยจึงทำให้โรงเรียนวัดหวายกรองเป็นที่รู้จักและโด่งดังของอำเภอ
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 โรงเรียนวัดหวายกรองได้ถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง มีครูถ่ายโอนมาด้วย 5 คน ปัจจุบันภายใต้การบริหารงานและนโยบายในการพัฒนาทางด้านการศึกษาของท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง นายปิยะ ปิตุเตชะ ได้อนุมัติงบประมาณมาพัฒนาโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย(วัดหวายกรอง) ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สร้างอาคาร 4 ชั้น 3 หลัง สระว่ายน้ำ โรงอาหาร อาคารพยาบาล ที่จะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2559 มีอาคารโดมอเนกประสงค์ อาคาร 5 ชั้น เป็นต้น
2. ด้านบุคลากร มีครูไทย ครูต่างชาติสอนภาษาจีน สอนภาษาอังกฤษ รวม 170 คน
3. ด้านนักเรียน จากเดิมมีนักเรียนเพียง 200 กว่าคน ปัจจุบันมีนักเรียน 1,613 คน และเป้าหมายในอนาคตจะมีนักเรียน 2,500 คน
4. หลักสูตรที่ใช้สอน เป็นหลักสูตร MEP(Mini English Program) สอน 2 ภาษา โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล 1-3 และชั้นประถม 1-6
สำหรับผู้บริหารโรงเรียนจากอดีตถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 27 ท่าน โดยปัจจุบันคือ
นายตวงสิทธิ์ อภิชัยบุคคล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองกิจการสภา อบจ. รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย (วัดหวายกรอง)
25
ส.ค.
กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และ สัปดาห์ห้องสมุด
ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง“อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่อำเภอบ้านหว้ากอ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
18
ส.ค.
กิจกรรมค่ายเยาวชนสดใสห่างไกลยาเสพติด
ค่ายเยาวชนสดใสห่างไกลยาเสพติด ได้รับเกียรติมาเปิดงานโดย ท่านนายกปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
การป้องกันยาเสพติด หมายถึง การให้การศึกษา ข่าวสาร ความรู้ และข้อมูลในเรื่องคุณภาพ ชีวิตยาและยาเสพติด ตลอดจนการป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชน ให้รอดพ้นจากยาเสพติดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ประชาชนไม่ใช้ยาเสพติด ถึงแม้จะประสบปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่มีส่วนผลักดันให้ใช้ยาเสพติดควบคู่กันไปด้วย การป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้พ้นจาก วังวน ของยาเสพติด เปรียบเสมือนก้าวแรกที่สำคัญที่จะ ทำให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับมัน หากเราไม่คิด จะป้องกัน มัวแต่จะแก้ไข ปัญหายาเสพติดก็ไม่มีวันหมดไปได้ เพราะกันไว้ดีกว่าแก้เราสามารถป้องกันตัวเองจากยาเสพติดได้ไม่ยาก อย่าคิดว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไกลตัว ใช่ว่ายาเสพติด จะมีแค่ยาบ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งของแบบนั้นเรา เองยังไม่รู้ว่าจะเจอได้ยังไง
เพราะยาเสพติดมี หลายประเภท ของบางอย่างเราอาจคาดไม่ถึงว่า มันก็ทำให้เราติดได้ แม้ไม่ใช่ยาเสพติดโดยตรง ก็ตาม เมื่อได้ชื่อว่าเสพติดแล้ว ก็่ยอมยากที่จะเลิก มันการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถเริ่มได้ จากตัวเรา ครอบครัว และคนรอบข้าง
“เยาวชนคืออนาคตของชาติ อย่าให้ตกเป็นทาสของยาเสพติด”